วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา (Mental Retardation)
หมายถึง ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ เฉลี่ยอย่างน้อยสำคัญซึ่งเป็นผลให้เกิด หรือเกี่ยวข้องกับความบกพร่องในพฤติกรรมการปรับตัว และปรากฎให้เห็นในระหว่างระยะของพัฒนาการต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมีนัยสำคัญ หมายถึง IQ หรือตั้งแต่ 70 ลงมาจากแบบทดสอบมาตราฐานที่ทำสอบเด็กเป็นรายบุคคล คำว่าความบกพร่องในพฤติกรรมการปรับตัว หมายถึง ความจำกัดในประสิทธิภาพของบุคคล ที่จะพัฒนาให้ถึงเกณฑ์มาตรฐานในด้านวุฒิภาวะ การเรียนรู้ การพึ่งตนเอง และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นที่คาดหวังของเด็กในกลุ่มอายุเดียวกัน และอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน ความบกพร่องในพฤติกรรมนี้ถูกกำหนดโดยการประเมินทางคลีนิคและการใช้แบบประเมินมาตรฐาน ดังนั้นการวินิจฉัยว่าเด็กพิการประเภทปัญญาอ่อนจะต้องมีหลักฐานปรากฎชัดเจน 3 ด้าน คือ
1. ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย คือมีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70
2. ความสามารถทางทักษะในการปรับตัว อย่างน้อย 2 ใน 10 ดังต่อไปนี้
- การสื่อความหมาย
- การดูแลตนเอง
- การดำรงชีวิตภายในบ้าน
- ทักษะทางสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- การรู้จักควบคุมตนเอง
- การรู้จักใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
- การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การทำงาน
- ด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
3. อาการต้องปรากฎก่อนอายุ 18 ปี
ประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา
แบ่งตามระดังความรุนแรงเป็น 4 ระดับดังนี้
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาระดับเล็กน้อย (เชาว์ปัญญา 50-70 ) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่เรียนได้ มีพัฒนาการด้านภาษาช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน แต่สามารถพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ได้ช่วยเหลือตนเองให้สามารถเรียนได้ในระดับประถมศึกษา แต่พัฒนาการด้านการฟัง การพูด การเขียน ล่าช้า แต่มีความสามารด้านการปฏิบัติการสูงกว่าวิชาการ
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาระดับกลาง (เชาว์ปัญญา 35-49) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอฝึกได้ มีการพัฒนาทางด้านภาษาค่อนข้างจำกัด ระดับการพัฒนาแต่ละคนจะแตกต่างกันบางคนสามารถร่วมสนทนา และเข้าใจคำสั่งง่าย ๆ ได้ บางคนทำได้แต่สื่อความต้องการขั้นพื้นฐาน การเคลื่อนไหวและการดูแลตนเองล้าช้า มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้จำกัดอยู่เฉพาะทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการฟัง พูด อ่าน เขียน และนับจำนวนเท่านั้น จำเป็นต้องเรียนในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง (เชาว์ปัญญา 20-34) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และได้รับการดูแลเหมาะสม ลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นฝึกได้ แต่มักพบสาเหตุทางพยาธิสภาพแก้ปัญหาของความบกพร่องด้านอื่น ๆ ร่วมด้วยอย่างชัดเจน ต้องการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใกล้ชิด
4. เด็กที่มีความเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก (เชาว์ปัญญา 20) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่มีความจำกัดเฉพาะด้าน ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ความจำกัดอย่างมากในด้านความเข้าใจ การดูแลตนเองในระดับพื้นฐานทำได้เพียงเล็กน้อย หรือทำไม่ได้เลยเพราะส่วนใหญ่เคลื่อนไหวได้น้อย
สาเหตุ

พันธุกรรม
ความผิดปกติของสายพันธุกรรมหรือโครโมโซม ซึ่งคนปกติจะมีโครโมโซมคู่ 23 คู่ 46 ตัว ในเรื่องของความผิดปกติของโครโมโซม ที่พบบ่อย คือ กลุ่มอาการดาว์ซินโดรม เป็นความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน มา 1 ตัว ซึ่งลักษณะของเด็กกลุ่มนี้โดยทั่วไปคือ หน้าตาคล้ายคลึงกันทุกเชื้อชาติ คือหน้าแบน ๆ จมูกแบน
ความผิดปกติของยีนส์ พบว่ามีการเผาผลาญ ของสารประเภทต่าง ๆ ผิดปกติ ทำให้ของเสียบางอย่างเกิดขึ้น และไม่สามารถกำจัดออกจากร่างกายได้ จึงเกิดเป็นพิษต่อสมอง
มีลักษณะผมและตาสีอ่อน คล้ายเด็กฝรั่ง พ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดจะสังเกตได้จากสีผมและตาซึ่งมีสีอ่อนต่างกับลูกคนอื่น
สิ่งแวดล้อม
สารพิษ เช่นการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เสพสารเสพติด รับสารตะกั่วบางชนิดเข้าไป
การติดเชื้อ
- การติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ เช่นเป็นหัดเยอรมัน ซิฟิลิส เอดส์
- ได้รับสารพิษ เช่น ยาขับเลือด บุหรี่ สุรา สารตะกั่ว รักสีเอกซเรย์
- สุขภาพจิตเสื่อมโทรม
- แม่อายุน้อย หรือมากเกินไป
- ติดเชื้อหลังคลอด เช่น การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางเยื่อหุ้มสมองอักเสบขาดเลือดหรือออกชิเจน เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ หรือหลังคลอดแล้วเช่น เด็กชักนานจากไข้สูง หรือลมชัก ติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่วจากสิ่งแวดล้อม จากของเล่น
- ขาดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ถูกทอดทิ้ง ครอบครัวแตกแยก การขาดสารอาหาร เช่นขาดสารไอโอดีน ขณะอยู่ในครรภ์ ทำให้ทารกไม่สามารถสร้างไธรอยด์ฮอร์โมน ที่สำคัญมากในการทำงานของสมอง
- อุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนจนเกิดผลเสียต่อการเรียนรู้
ความต้องการพิเศษของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเหล่านี้ มีความสามารถจำกัดกว่าเด็กทั่ว ๆ ไปดังนั้นครูต้องคำนึงว่าเด็กมีความต้องการอะไร บางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษกว่าเด็กคนอื่น ครูจึงต้องมีความรู้ถึงความต้องการพิเศษด้วย ความต้องการพิเศษมั่นคง
1. ต้อง การความปลอดภัยและความมั่นคง
- ความมั่นคงในครอบครัว คือต้องการมีพ่อแม่ให้ความรัก และเข้าใจ
- ความปลอดภัยในสถานที่ที่เด็กต้องไปเกี่ยวข้องและคุ้นเคย ดังนั้นโรงเรียนที่สอนเด็กเหล่านี้ให้เด็กเกิดความอบอุ่นใจ และมั่นใจว่าเด็กมีความปลอดภัยขณะที่จะมาอยู่ในโรงเรียน
- ต้องการความมั่นคง และปลอดภัย เช่น ต้องการทำอะไรด้วยตนเองได้
- ต้องการความมั่นคงใจกิจวัตรประจำวัน เช่น ต้องการทำอะไรด้วยตนเองได้
2. ต้องการได้รับความรัก และเป็นผู้ให้ความรัก เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีความคำนึงความรักมากกว่าปกติ ถ้าเด็กรักครูหรือเพื่อนคนใดจะพยายามนำสิ่งของต่าง ๆ มาให้ครูหรือเพื่อนรักตน
3. ต้องการเป็นที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มเพื่อนฝูง ต้องการให้เพื่อนยอมรับเป็นสมาชิกของกลุ่ม ถ้าเพื่อน ๆ ไม่ยอมรับเข้ากลุ่มเด็กจะเสียใจมาก
4. ต้องการได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นคนมีความสามารถ
5. ต้องการความเป็นอิสระและต้องการเป็นผู้รับผิดชอบในงานต่าง ๆ บ้าง ทั้งนี้เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาต้องอาศัยคนอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ค่อยเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นเพื่อให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเอง ควรฝึกให้มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
6. ต้องการประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ บ้าง ดังนั้นครูที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จึงต้องพยายามจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กเหล่านี้ได้มีประสบการณ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ เพื่อเป็นการฝึกหัดให้เด็กบ้าง
ฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
1. การเตรียมความพร้อม
การจัดกิจกรรมการสอนต้องคำนึงถึงความสามารถของเด็กเนื่องจากมีการเรียนรู้ช้า การสอนจึงควรทำซ้ำ ๆ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรมีหลากหลายแตกต่างกันไปเพื่อไม่ให้นักเรียนเบื่อ การสอนเด็กจึงควรเริ่มจากสิ่งที่งาย ๆ ไปหายาก และให้เด็กเรียนกิจกรรมที่ง่าย ๆ ก่อน เพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ง่าย และประสบผลสำเร็จในการเรียน สิ่งสำคัญคือ เด็กควรมีความพร้อมในพัฒนาการในทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเคลื่อนไหว สติปัญญา การใช้ภาษาพูดและสื่อความหมาย รวมไปถึงด้านสังคม
2. การจัดนันทนาการ
การจัดกิจกรรมนันทนาการ ทำให้เกิดความสนุกสนานผ่อนคลาย และทำให้เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการ เพื่อการบำบัดความบกพร่องการจัดกิจกรรมต้องคำนึงถึงเด็กเป็นศูนย์กลาง และพัฒนาทางด้านสังคมให้เด็กสามารถเล่นกับเพื่อนได้ รู้กฎกติกาของเกมการเล่นและการปฏิบัติตามมา เพื่อให้เด็กสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป
3. การปรับพฤติกรรม
เป็นกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนการสร้างพฤติกรรมใหม่ การปรับพฤติกรรมมีหลายวิธี เช่นการใช้แรงเสริม การเป็นแบบอย่างที่ดี การให้รางวัล การสะสมเหรียญ หรือคะแนนเพื่อนำมาแลกรางวัล อย่างใดอย่างหนึ่ง
4. การจัดศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัดเป็นการนำศิลปะมาเชื่อมต่อกันโดยต่างเพิ่มคุณค่าให้แก่กันและกัน ความสวยงามจากสิ่งที่เป็นจริงกับความคิด ความรู้ ศิลปะบำบัด เป็นวิธีการบำบัดจากสิ่งที่เป็นจริง เกี่ยวกับความคิด ความรู้ ความรู้สึก เพื่อให้เกิดงานสร้างสรรค์
การทำการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
1. ใช้หลักการสอนแบบ 3R’ S คือ
- Repettion คือ การสอนแบบซ้ำไปซ้ำมา
- Relaxation คือ การสอนแบบไม่ตึงเครียดนัก
- Routine คือ การสอนให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
2. สอนทีละขั้นจากสิ่งใกล้ตัวไปหาสิ่งไกลตัว หรือจากง่ายไปหายาก
3. สอนโดยการกระทำจริง
4. สอนสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็กจริง ๆ
5. ต้องพยายามจัดการเรียนการสอนให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้มีประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เอง
6. สอนโดยใช้ของจริง หรืออุปกรณ์ประกอบทุกครั้ง
7. ต้องให้เวลาเด็กพอสมควรในการเปลี่ยนกิจกรรมอย่างหนึ่งไปสู่กิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง
8. การสอนต้องอาศัยแรงจูงใจ (Motivation) วิธีที่จะทำให้เด็กอยากเรียนอีกวิธีหนึ่ง คือแรงเสริม
มีทั้งทางบวก และทางลบ
9. ครูต้องคำนึงถึงความพร้อมของนักเรียนให้มากกว่าปกติ
10. ต้องสอนตามความสามารถ และความต้องการของเด็กแต่ละคน
11. สอนตามระดับสติปัญญาของเด็ก
12. ยอมรับความสามารถ และพยายามส่งเสริมความสามารถของเด็ก
13. พยายามฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองมากที่สุด
14. สอนโดยการแบ่งตามหมู่ตามตารางสอน
15. เมื่อฝึกให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องพยายามแทรกการฝึกหลาย ๆ ด้านไปด้วย
16. ต้องช่วยเด็กให้พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
17. ต้องมีการวิเคราะห์งาน (Tals Analysis )
18. มีการประเมินผลความก้าวหน้าของเด็กอยู่ตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น