วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Gifted child

ปัญญาเลิศคืออะไร 
เด็กปัญญาเลิศ (Gifted child) หรือเด็กอัจฉริยะ คือเด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงมาก (I.Q. อาจสูงถึง 130-140) เด็กกลุ่มนี้ก็จะดู คล้ายเด็กสมาธิสั้นครับ เนื่องจากความที่เขาฉลาดมาก จึงมักมีความอยากรู้อยากเห็น มีพลังงานในตัวเองมาก นอกจากนี้เขาจะมีสมาธิดีมากใน เรื่องซึ่งตนเองสนใจ แต่ถ้าเรื่องไหนไม่อยู่ในความสนใจ ก็อาจไม่สนใจเลย จึงดูคล้ายเด็กสมาธิสั้นได้ แต่เรื่องไหนที่สนใจ เขาก็จะพยายามค้นคว้าจนมีความรู้เกินวัย ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกำหนดเกณฑ์ของเด็กปัญญาเลิศ คือระดับสติปัญญาหรือไอคิว เกิน 130 บางท่านระดับความสามารถในการเรียน สูงกว่า 2 ชั้นปี เช่น เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ความสามารถในการเรียนเทียบเท่ากับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เด็กปัญญาเลิศจะเฉลียวฉลาดกว่าเด็กวัยเดียวกัน ต้องการการปรับเปลื่ยนการเลี้ยงดู และการสอน เพื่อศักยภาพสูงสุดของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ และคุณครูที่ดูแลเด็กปัญญาเลิศมักบอกตรงกันอย่างหนึ่งว่า ''เหนี่อย'' นาทีแรกเด็กปัญญาเลิศอาจพูดจาเกินวัย แบบผู้ใหญ่ แต่อีกนาทีต่อไปอาจหงุดหงิด อาละวาดเพราะไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ 
รู้ได้อย่างไรว่าลูกปัญญาเลิศ 
จากการศึกษาวิจัยในรัฐ มินิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี ค.ศ. 1994 -1995 โดยศึกษาเด็กปัญญาเลิศ 241 คน อายุตั้งแต่ 2-12 ปีระดับสติปัญญาตั้งแต่ 160-237 
พบว่าร้อยละ 82 ของพ่อแม่ต้องการการช่วยเหลือในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของลูก 
ร้อยละ50 ของพ่อแม่บอกว่าลูกนอนน้อยกว่าเด็กอื่นๆ 
ร้อยละ94 ของเด็กมีสมาธิต่อเนื่องนานกว่าเด็กวัยเดียวกัน 
ร้อยละ91 มีพัฒนาการทางภาษาเร็ว 
ร้อยละ60 มีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อเร็ว 
เด็กปัญญาเลิศเริ่มพูดคำแรกอายุเฉลี่ยเพียง 9 เดือน เริ่มอ่านหนังสือง่ายๆ ได้อายุ 4 ปี 
ร้อยละ 52 ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด 
เราลองมาดูว่าลูกหลาน ของเรามีลักษณะเข้าข่ายเด็กปัญญาเลิศหรือไม่ โดยจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ครับ 
เป็นนักคิดเรื่องของเหตุผล 
มักเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว 
สามารถจดจำคำศัพท์ ต่างๆ ได้จำนวนมาก 
มีความจำเป็นเยี่ยม 
ถ้าสนใจอะไรแล้วจะมีสมาธิสนใจ จดจ่อได้เป็นเวลานาน 
เป็นคนอ่อนไหว จึงรู้สึกเจ็บปวด ผิดหวังได้ง่าย 
คาดหวังว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์ (Perfectionistic) ในวัยอนุบาลเด็กปัญญาเลิศบางคนอาจจะค่อนข้างเจ้ากี้ เจ้าการ พยายามจัดการงานหรือเพื่อนๆ ตามที่ตัวเองต้องการ และจะผิดหวังง่ายเมื่อคนอื่นไม่เห็นด้วย หรือไม่ร่วมมือ เมื่อโตขึ้นเข้าวัยประถม เด็กปัญญาเลิศมักจะมีมาตรฐานสูง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดีพร้อม ประกอบกับชอบสั่งผู้อื่น ชอบทำตัวเป็นเจ้านาย พยายามบริหารจัดการเพื่อน ครู ไปจนถึงพ่อแม่ 
ตึงเครียดง่าย การที่เด็กปัญญาเลิศมักจะเครียดง่าย อ่อนไหวง่าย อาจทำให้ถูกผู้ใหญ่มองว่าดื้อ ต่อต้านคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกดุว่าหรือลงโทษ หรือถูกมองว่าชอบทำอะไรแตกต่างจากคนอื่น 
มีความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดีสูง 
มีความอยากรู้อยากเห็นมากกว่าเด็กทั่วไป 
หมกมุ่นเฉพาะเรื่องที่ตนเองสนใจ 
มีพลังมากในการทำสิ่งต่างๆ อาจถูกวินิจฉัยผิดเป็นโรคสมาธิสั้น เนื่องจากเด็กปัญญาเลิศมักมีลักษณะอ่อนไหว ตึงเครียดง่าย หุนหันพลันแล่น อดทนรออะไรไม่ได้ ค่อนข้างซน อยู่ไม่นิ่ง จึงอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น อย่างไรก็ตามเด็กปัญญาเลิศส่วนหนึ่งอาจเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยก็ได้ครับ เป็นการวินิจฉัยคู่ (Dual Diagnosis) 
ชอบคบเพื่อนที่อายุมากกว่าหรือผู้ใหญ่ 
มีความสนใจในเรื่องต่างๆ มากมาย 
มีอารมณ์ขัน แต่มักเป็นอารมณ์ขันที่เพื่อนไม่เข้าใจ 
เป็นนักอ่านตัวยง ถ้าอายุยังน้อย เช่นวัยก่อนอนุบาล อ่านหนังสือเองไม่ได้ ก็ชอบที่จะให้พ่อแม่อ่านให้ฟัง เด็กส่วนใหญ่ถ้ายังไม่ได้เข้าโรงเรียนมักอ่านหนังสือไม่ได้ โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ก็มักจะ ยังไม่ได้สอนการอ่าน แต่เด็กปัญญาเลิศบางคนอ่านหนังสือได้เร็วกว่าปกติ และอ่านได้ตั้งแต่วัยอนุบาล 
ผดุงความยุติธรรม ชอบความถูกต้อง เป็นธรรม 
การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ดีเกินวัย 
เป็นนักสังเกตการณ์ชั้นยอด 
มีจินตนาการกว้างไกล 
มีความคิดสร้างสรรค์ 
ชอบซักถาม 
มีอัจฉริยภาพด้านการคำนวณ 
มีความสามารถสูงในการต่อจิ๊กซอว์ 
เด็กปัญญาเลิศมักมีความมั่นใจในความสามารถเกี่ยวกับเรื่องการเรียนของตนเองสูง นอกจากนี้แล้ว ยังต้องการหลักสูตรการศึกษาซึ่งท้าทายมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป 
เด็กปัญญาเลิศบางคนอาจมีพรสวรรค์เป็นพิเศษในด้านดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม หรือการคิดแบบวิทยาศาสตร์ 
ความแตกต่างระหว่างเด็กฉลาดและเด็ก gifted 
1. เด็กฉลาด - รู้คำตอบ 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ตั้งคำถาม 
2. เด็กฉลาด - ถูกทำให้สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยง่าย 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - อยากรู้อยากเห็นมาก 
3. เด็กฉลาด - มีความตั้งใจ เมื่อต้องการเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - มีความสนใจเรียนรู้ซึ่งเกิดเองโดยธรรมชาติและมาจากใจโดยแท้ 
4. เด็กฉลาด - เรียนหนัก 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เรียนสบายๆ เหมือนไม่ค่อยสนใจ แต่ทำคะแนนได้ดี 
5. เด็กฉลาด - ตอบคำถามได้เสมอ 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ตั้งคำถามกับคำตอบที่ได้ยิน 
6. เด็กฉลาด - ชอบอยู่ในแวดวงเด็กอายุเท่ากัน 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า 
7. เด็กฉลาด - ความจำดีมาก 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เดาเก่ง 
8. เด็กฉลาด - เรียนรู้ง่ายและเร็ว 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เบื่อง่าย มักจะรู้คำตอบล่วงหน้า 
9. เด็กฉลาด - เป็นผู้ฟังที่ดี 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างเต็มที่ 
10. เด็กฉลาด - พอใจในผลงานของตนเสมอ 
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ติเตียนผลงานของตนเสมอ (เพอร์เฟ็คชั่นนิสต์) 

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน คือ เด็กที่สูญเสียการได้ยิน ไม่สามารถรับฟังเสียงได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป หรือเด็กที่ไม่สามารถได้ยินเสียงได้เทียบเท่ากับบุคคลที่มีความสามารถในการได้ยินปกติที่สามารถรับฟังเสียงด้วยหูทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ระดับ 25 เดซิเบลขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่สูญเสียการได้ยินนั่นเอง..
ความบกพร่องทางการได้ยิน นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยสาเหตุที่ทำให้หูพิการมาตั้งแต่กำเนิดนั้น อาจเป็นจากทางกรรมพันธุ์ หรือในขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์นั้นได้รับเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และซิฟิลิส หรือในขณะที่ตั้งครรภ์ อาจได้รับสารหรือยาที่เป็นอันตราย หรือเกิดอุบัติเหตุในระหว่างตั้งครรภ์ หรือเด็กขาดออกซิเจนเป็นเวลานานในขณะทำคลอด หรือเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เป็นต้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมี 2 ประเภท คือ

  1. เด็กหูตึง คือ เด็กมีการได้ยินเหลืออยู่บ้างสามารถได้ยินได้ไม่ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟังหรือไม่ก็ตาม เด็กหูตึงจะมีระดับการได้ยินในหูอยู่ระหว่าง 26-89เดซิเบล ซึ่งคนปกติจะมีระดับการได้ยินอยู่ระหว่าง0-25 เดซิเบล
  2. เด็กหูหนวก คือ เด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่ดีตั้งแต่ 90เดซิเบลขึ้นไป ไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้จากการสั่นสะเทือน
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน คือ มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษา บางคนพูดไม่ชัด และมักหลีกเลี่ยงการสนทนากับผู้อื่น หรือบางคนก็พูดไม่ได้เลย เด็กทีสูญเสียการได้ยินเล็กน้อย อาจพอพูดได้ ส่วนเด็กทีสูญเสียการได้ยินมาก หรือหูหนวก อาจพูดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการสอนพูดตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่เด็กกลุ่มนี้มักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับด้านสติปัญญา คือมีระดับสติปัญญาเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องต่างๆได้ แต่อาจมีปัญหาด้านการเข้าสังคมค่ะ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
         คนตาบอด  หมายถึง  คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียง 
          คนเห็นเลือนราง  หมายถึง  คนที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษร ตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้ 

การสังเกตพฤติกรรมเด็กที่มีความบกพร่องทางมองเห็น
1. ขยี้ตาบ่อย ๆ เหมือนพยายามทำให้ภาพที่ไม่ชัดให้ปรากฎชัดขึ้น
2. เวลามองวัตถุมักป้องตา
3. ถือหนังสือไว้ใกล้ตามาก หรือก้มหน้าใกล้หนังสือ
4. กระพริบตาถี่มากกว่าปกติ
5. มีความยุ่งยากในการอ่านหนังสือ หรือการทำงานที่ต้องใช้สายตา
6. ตามักช้ำแดงและมีน้ำตา ขี้ตากรัง
7. ทำตาหรี่ หรือขยี้ตาขณะที่มอง
8. มักพูดว่าตัวหนังสือหรือรูปภาพเต้น หรือมองอะไรมัวๆ หรือเป็นภาพซ้อน
9. ไม่สามารถอ่านหนังสือเรียงตามบรรทัดได้นาน มักอ่านหนังสือกลับไปกลับมา
10. เวลาอ่านหนังสือมักจะสับสนเมื่ออ่านอักษรที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ก,,ภ หรือ บ กับ ป หรือ อ กับ ฮ
11. ลูกตาดำมีลักษณะผิดปกติ

สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น
การเกิดความบกพร่องทางการเห็น จนถึงตาบอด  อาจมีสาเหตุใหญ่ๆประการ  คือ
1. ความผิดปกติของดวงตา
          เกิดจากความเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อตาเป็นเหตุให้  สายตาสั้น  สายตายาว  หรือเกิดมีปัญหาจากการปรับภาพที่เลนส์ในดวงตา  เป็นต้น  ความผิดปกติอาจเกิดจากอุบัติเหตุ  การไม่ถนอมสายตาหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์
2. ความผิดปกติของสายตา
เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ  จากอุบัติเหตุต่างๆที่เป็นอันตรายต่อดวงตา  จากฤทธิ์ยาบางประเภทตลอดจนใช้ยาผิด  โรคบางอย่างที่ไม่สามารถป้องกันได้  เช่น  เนื้องอกที่ตา  โรคเหล่านี้อาจทำให้ตาบอดหรือมีความบกพร่องทางสายตาอย่างรุนแรง
  
ลักษณะที่มีความผิดปกติของสายตา
1.            มีอาการคันตาเรื้อรัง  น้ำตาไหลอยู่เสมอ  หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
2.            มักมองเห็นภาพซ้อน  วิงเวียนศรีษะ  มองเห็นไม่ชัดเจนในบางครั้ง
3.            เวลามองวัตถุในระยะไกลๆต้องขยี้ตาหรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
4.            เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆโดยกลัวจะสดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
5.            ไม่สนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง  หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6.            มักขยี้ตาบ่อยๆ
7.            ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สายตา
8.            กระพริบตาบ่อยๆ
9.            อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
10.    สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้

Autism

Autism คืออะไร

โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
เด็กที่เป็น Autismเด็กปกติ
การสื่อสาร
 
  • ไม่มองตา
  • เหมือนคนหูหนวก
  • เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
  • ดูหน้าแม่
  • หันไปตามเสียง
  • เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
 
  • เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
  • ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
  • จำคนไม่ได้
  • เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
  • ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
  • จำหน้าแม่ได้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 
  • นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
  • ดมหรือเลียตุ๊กตา
  • ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
  • เปลี่ยนของเล่น
  • การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
  • สำรวจและเล่นตุ๊กตา
  • ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ

อาการทางสังคม

เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา
เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง

ปัญหาด้านภาษา

เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก)
การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ

พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ

เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
  • เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
  • เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
  • เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
  • เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
  • เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้

เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง

ความสามารถพิเศษ

เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ
การพัฒนาของเด็กปกติ
การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก

การวินิจฉัย

ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
  • มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ
เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

สาเหตุของ Autism

สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท
  • สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
  • สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
  • สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
  • การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
  • การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

  • พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
  • ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาดoxygen ขณะคลอด

โรคที่พบร่วมกับ Autism

  • ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
  • โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา (Mental Retardation)
หมายถึง ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ เฉลี่ยอย่างน้อยสำคัญซึ่งเป็นผลให้เกิด หรือเกี่ยวข้องกับความบกพร่องในพฤติกรรมการปรับตัว และปรากฎให้เห็นในระหว่างระยะของพัฒนาการต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมีนัยสำคัญ หมายถึง IQ หรือตั้งแต่ 70 ลงมาจากแบบทดสอบมาตราฐานที่ทำสอบเด็กเป็นรายบุคคล คำว่าความบกพร่องในพฤติกรรมการปรับตัว หมายถึง ความจำกัดในประสิทธิภาพของบุคคล ที่จะพัฒนาให้ถึงเกณฑ์มาตรฐานในด้านวุฒิภาวะ การเรียนรู้ การพึ่งตนเอง และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นที่คาดหวังของเด็กในกลุ่มอายุเดียวกัน และอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน ความบกพร่องในพฤติกรรมนี้ถูกกำหนดโดยการประเมินทางคลีนิคและการใช้แบบประเมินมาตรฐาน ดังนั้นการวินิจฉัยว่าเด็กพิการประเภทปัญญาอ่อนจะต้องมีหลักฐานปรากฎชัดเจน 3 ด้าน คือ
1. ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย คือมีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70
2. ความสามารถทางทักษะในการปรับตัว อย่างน้อย 2 ใน 10 ดังต่อไปนี้
- การสื่อความหมาย
- การดูแลตนเอง
- การดำรงชีวิตภายในบ้าน
- ทักษะทางสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- การรู้จักควบคุมตนเอง
- การรู้จักใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
- การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การทำงาน
- ด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
3. อาการต้องปรากฎก่อนอายุ 18 ปี
ประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา
แบ่งตามระดังความรุนแรงเป็น 4 ระดับดังนี้
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาระดับเล็กน้อย (เชาว์ปัญญา 50-70 ) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่เรียนได้ มีพัฒนาการด้านภาษาช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน แต่สามารถพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ได้ช่วยเหลือตนเองให้สามารถเรียนได้ในระดับประถมศึกษา แต่พัฒนาการด้านการฟัง การพูด การเขียน ล่าช้า แต่มีความสามารด้านการปฏิบัติการสูงกว่าวิชาการ
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาระดับกลาง (เชาว์ปัญญา 35-49) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอฝึกได้ มีการพัฒนาทางด้านภาษาค่อนข้างจำกัด ระดับการพัฒนาแต่ละคนจะแตกต่างกันบางคนสามารถร่วมสนทนา และเข้าใจคำสั่งง่าย ๆ ได้ บางคนทำได้แต่สื่อความต้องการขั้นพื้นฐาน การเคลื่อนไหวและการดูแลตนเองล้าช้า มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้จำกัดอยู่เฉพาะทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการฟัง พูด อ่าน เขียน และนับจำนวนเท่านั้น จำเป็นต้องเรียนในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง (เชาว์ปัญญา 20-34) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และได้รับการดูแลเหมาะสม ลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นฝึกได้ แต่มักพบสาเหตุทางพยาธิสภาพแก้ปัญหาของความบกพร่องด้านอื่น ๆ ร่วมด้วยอย่างชัดเจน ต้องการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใกล้ชิด
4. เด็กที่มีความเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก (เชาว์ปัญญา 20) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่มีความจำกัดเฉพาะด้าน ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ความจำกัดอย่างมากในด้านความเข้าใจ การดูแลตนเองในระดับพื้นฐานทำได้เพียงเล็กน้อย หรือทำไม่ได้เลยเพราะส่วนใหญ่เคลื่อนไหวได้น้อย
สาเหตุ

พันธุกรรม
ความผิดปกติของสายพันธุกรรมหรือโครโมโซม ซึ่งคนปกติจะมีโครโมโซมคู่ 23 คู่ 46 ตัว ในเรื่องของความผิดปกติของโครโมโซม ที่พบบ่อย คือ กลุ่มอาการดาว์ซินโดรม เป็นความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน มา 1 ตัว ซึ่งลักษณะของเด็กกลุ่มนี้โดยทั่วไปคือ หน้าตาคล้ายคลึงกันทุกเชื้อชาติ คือหน้าแบน ๆ จมูกแบน
ความผิดปกติของยีนส์ พบว่ามีการเผาผลาญ ของสารประเภทต่าง ๆ ผิดปกติ ทำให้ของเสียบางอย่างเกิดขึ้น และไม่สามารถกำจัดออกจากร่างกายได้ จึงเกิดเป็นพิษต่อสมอง
มีลักษณะผมและตาสีอ่อน คล้ายเด็กฝรั่ง พ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดจะสังเกตได้จากสีผมและตาซึ่งมีสีอ่อนต่างกับลูกคนอื่น
สิ่งแวดล้อม
สารพิษ เช่นการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เสพสารเสพติด รับสารตะกั่วบางชนิดเข้าไป
การติดเชื้อ
- การติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ เช่นเป็นหัดเยอรมัน ซิฟิลิส เอดส์
- ได้รับสารพิษ เช่น ยาขับเลือด บุหรี่ สุรา สารตะกั่ว รักสีเอกซเรย์
- สุขภาพจิตเสื่อมโทรม
- แม่อายุน้อย หรือมากเกินไป
- ติดเชื้อหลังคลอด เช่น การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางเยื่อหุ้มสมองอักเสบขาดเลือดหรือออกชิเจน เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ หรือหลังคลอดแล้วเช่น เด็กชักนานจากไข้สูง หรือลมชัก ติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่วจากสิ่งแวดล้อม จากของเล่น
- ขาดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ถูกทอดทิ้ง ครอบครัวแตกแยก การขาดสารอาหาร เช่นขาดสารไอโอดีน ขณะอยู่ในครรภ์ ทำให้ทารกไม่สามารถสร้างไธรอยด์ฮอร์โมน ที่สำคัญมากในการทำงานของสมอง
- อุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนจนเกิดผลเสียต่อการเรียนรู้
ความต้องการพิเศษของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเหล่านี้ มีความสามารถจำกัดกว่าเด็กทั่ว ๆ ไปดังนั้นครูต้องคำนึงว่าเด็กมีความต้องการอะไร บางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษกว่าเด็กคนอื่น ครูจึงต้องมีความรู้ถึงความต้องการพิเศษด้วย ความต้องการพิเศษมั่นคง
1. ต้อง การความปลอดภัยและความมั่นคง
- ความมั่นคงในครอบครัว คือต้องการมีพ่อแม่ให้ความรัก และเข้าใจ
- ความปลอดภัยในสถานที่ที่เด็กต้องไปเกี่ยวข้องและคุ้นเคย ดังนั้นโรงเรียนที่สอนเด็กเหล่านี้ให้เด็กเกิดความอบอุ่นใจ และมั่นใจว่าเด็กมีความปลอดภัยขณะที่จะมาอยู่ในโรงเรียน
- ต้องการความมั่นคง และปลอดภัย เช่น ต้องการทำอะไรด้วยตนเองได้
- ต้องการความมั่นคงใจกิจวัตรประจำวัน เช่น ต้องการทำอะไรด้วยตนเองได้
2. ต้องการได้รับความรัก และเป็นผู้ให้ความรัก เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีความคำนึงความรักมากกว่าปกติ ถ้าเด็กรักครูหรือเพื่อนคนใดจะพยายามนำสิ่งของต่าง ๆ มาให้ครูหรือเพื่อนรักตน
3. ต้องการเป็นที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มเพื่อนฝูง ต้องการให้เพื่อนยอมรับเป็นสมาชิกของกลุ่ม ถ้าเพื่อน ๆ ไม่ยอมรับเข้ากลุ่มเด็กจะเสียใจมาก
4. ต้องการได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นคนมีความสามารถ
5. ต้องการความเป็นอิสระและต้องการเป็นผู้รับผิดชอบในงานต่าง ๆ บ้าง ทั้งนี้เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาต้องอาศัยคนอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ค่อยเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นเพื่อให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเอง ควรฝึกให้มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
6. ต้องการประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ บ้าง ดังนั้นครูที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จึงต้องพยายามจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กเหล่านี้ได้มีประสบการณ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ เพื่อเป็นการฝึกหัดให้เด็กบ้าง
ฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
1. การเตรียมความพร้อม
การจัดกิจกรรมการสอนต้องคำนึงถึงความสามารถของเด็กเนื่องจากมีการเรียนรู้ช้า การสอนจึงควรทำซ้ำ ๆ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรมีหลากหลายแตกต่างกันไปเพื่อไม่ให้นักเรียนเบื่อ การสอนเด็กจึงควรเริ่มจากสิ่งที่งาย ๆ ไปหายาก และให้เด็กเรียนกิจกรรมที่ง่าย ๆ ก่อน เพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ง่าย และประสบผลสำเร็จในการเรียน สิ่งสำคัญคือ เด็กควรมีความพร้อมในพัฒนาการในทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเคลื่อนไหว สติปัญญา การใช้ภาษาพูดและสื่อความหมาย รวมไปถึงด้านสังคม
2. การจัดนันทนาการ
การจัดกิจกรรมนันทนาการ ทำให้เกิดความสนุกสนานผ่อนคลาย และทำให้เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการ เพื่อการบำบัดความบกพร่องการจัดกิจกรรมต้องคำนึงถึงเด็กเป็นศูนย์กลาง และพัฒนาทางด้านสังคมให้เด็กสามารถเล่นกับเพื่อนได้ รู้กฎกติกาของเกมการเล่นและการปฏิบัติตามมา เพื่อให้เด็กสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป
3. การปรับพฤติกรรม
เป็นกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนการสร้างพฤติกรรมใหม่ การปรับพฤติกรรมมีหลายวิธี เช่นการใช้แรงเสริม การเป็นแบบอย่างที่ดี การให้รางวัล การสะสมเหรียญ หรือคะแนนเพื่อนำมาแลกรางวัล อย่างใดอย่างหนึ่ง
4. การจัดศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัดเป็นการนำศิลปะมาเชื่อมต่อกันโดยต่างเพิ่มคุณค่าให้แก่กันและกัน ความสวยงามจากสิ่งที่เป็นจริงกับความคิด ความรู้ ศิลปะบำบัด เป็นวิธีการบำบัดจากสิ่งที่เป็นจริง เกี่ยวกับความคิด ความรู้ ความรู้สึก เพื่อให้เกิดงานสร้างสรรค์
การทำการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
1. ใช้หลักการสอนแบบ 3R’ S คือ
- Repettion คือ การสอนแบบซ้ำไปซ้ำมา
- Relaxation คือ การสอนแบบไม่ตึงเครียดนัก
- Routine คือ การสอนให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
2. สอนทีละขั้นจากสิ่งใกล้ตัวไปหาสิ่งไกลตัว หรือจากง่ายไปหายาก
3. สอนโดยการกระทำจริง
4. สอนสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็กจริง ๆ
5. ต้องพยายามจัดการเรียนการสอนให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้มีประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เอง
6. สอนโดยใช้ของจริง หรืออุปกรณ์ประกอบทุกครั้ง
7. ต้องให้เวลาเด็กพอสมควรในการเปลี่ยนกิจกรรมอย่างหนึ่งไปสู่กิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง
8. การสอนต้องอาศัยแรงจูงใจ (Motivation) วิธีที่จะทำให้เด็กอยากเรียนอีกวิธีหนึ่ง คือแรงเสริม
มีทั้งทางบวก และทางลบ
9. ครูต้องคำนึงถึงความพร้อมของนักเรียนให้มากกว่าปกติ
10. ต้องสอนตามความสามารถ และความต้องการของเด็กแต่ละคน
11. สอนตามระดับสติปัญญาของเด็ก
12. ยอมรับความสามารถ และพยายามส่งเสริมความสามารถของเด็ก
13. พยายามฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองมากที่สุด
14. สอนโดยการแบ่งตามหมู่ตามตารางสอน
15. เมื่อฝึกให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องพยายามแทรกการฝึกหลาย ๆ ด้านไปด้วย
16. ต้องช่วยเด็กให้พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
17. ต้องมีการวิเคราะห์งาน (Tals Analysis )
18. มีการประเมินผลความก้าวหน้าของเด็กอยู่ตลอดเวลา