วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จิตวิทยาเด็กพิเศษ


ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

                            การศึกษาพิเศษ (Special Education) หมายถึงการศึกษาที่ตัดให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (children with special needs) ทางการศึกษาแตกต่างไปจากเด็กปกติเนื่องจากมีความจากมีความผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์พฤติกรรม หรือสติปัญญา ซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์จากการศึกษาอย่างเต็มที่ การจัดการศึกษาให้แก่เด็กกลุ่มนี้ จึงต้องดำเนินการสอนโดยครูที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ มีเทคนิควิธีการสอน ที่แตกต่างไปจากเด็กปกติ การจัดเนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์การสอนและวิธีการประเมินผลที่เหมาะสมกับสภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาให้เกิดศักยภาพสูงสุด และการจัดการศึกษาพิเศษนี้ อาจจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความผิดปกติในระดับรุนแรง หรือจัดการศึกษาในโรงเรียนปกติในรูปแบบการเรียนร่วม สำหรับเด็กที่มีระดับความผิดปกติไม่รุนแรงมาก
รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ
            มีหลักการที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อม การจัดการเรียนการสอน และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กพิการในแต่ละระดับและแต่ละประเภท และบำบัดฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เด็กพิการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาจนสามารถพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
               1. รูปแบบการเรียนในชั้นปกติตามเวลา เป็นรูปแบบการจัดการศึกษา
พิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง หรือผิดปกติน้อยมากเด็กพิการสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติเช่นเดียวกับเด็กปกติได้ตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด
2. รูปแบบการเรียนร่วม เป็นรูปแบบการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง หรือผิดปกติ แต่อยู่ในระดับที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ การจัดการศึกษาพิเศษในรูปแบบนี้ มุ่งให้เด็กพิการได้รับการศึกษา ในสภาวะที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุดเท่าที่แต่ละคนจะรับได้
3. รูปแบบเฉพาะความพิการ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความพิการค่อนข้างมาก หรือพิการซ้ำซ้อนเป็นรูปแบบที่มีสภาพแวดล้อมจำกัดมากที่สุด แบ่งเป็น 4 ระดับได้แก่
                3.1 รูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ
                3.2 รูปแบบการเรียนในโรงเรียนพิเศษเฉพาะทาง
                3.3 รูปแบบการฟื้นฟูในสมรรถภาพในสถาบันเฉพาะทาง
                3..4 การบำบัดในโรงพยาบาลหรือบ้าน

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
    เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท) หรือพอเห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
            1.เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้
            2.เด็กสายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
 การให้ความช่วยเหลือ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นครูจึงควรปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นตามโอกาสและสถานการณ์ดังนี้
1.หากต้องการจะพูดเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเด็กที่อยู่ที่นั่นด้วย ต้องพูดกับเขาโดยตรง ไม่ควรพูดผ่านคนอื่นเพราะคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจหรือรู้ได้ไม่หมด
            2.ไม่ควรพูดแสดงความสงสารให้เด็กได้ยินหรือรู้สึก
            3.หากครูเข้าไปในห้องที่มีเด็กอยู่ควรพูดหรือทำให้รู้ว่าครูเข้ามาแล้ว
            4.การช่วยให้เด็กนั่งเก้าอี้ ให้จับมือวางที่พนักหรือที่เท้าแขนเด็กจะนั่งเองได้

การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับเด็กปกติ
ในการสอนวิชาสามัญทั่วไปเด็กปกติเรียนตามหลักสูตรในโรงเรียนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเด็กมีความบกพร่องทางการเห็น สามารถเรียนรู้ได้เท่าหรือเกือบเท่าเด็กปกติ ถ้าครูใช้สื่อและวิธีการเหมาะสมจากการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา เกษตรและดนตรี เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นก็สามารถเรียนรู้ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะครอบคลุมทุกเรื่องทุกเนื้อหา ในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดที่เด็กกลุ่มนี้ทำไม่ได้หรือทำได้น้อย เช่น วิชาพละศึกษา วิชาคัดลายมือ และนาฏศิลป์ เป็นต้น
อักษรเบลส์
อักษรเบลล์ คือระบบการเขียนหนังสือสำหรับคนตาบอด ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มของจุดนูนเล็กๆใน 1  ช่องประกอบด้วยจุด 6  ตำแหน่งซึ่งนำมาจัดสลับไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน๊ตดนตรี ฯลฯ ลงบนกระดาษ โดยการอ่านด้วยปลายนิ้วมือ วิธีการเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลท (Slate) และดินสอ (Stylus) ในส่วนของการพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเล่อร์ (Brailler) ระบบการอ่านการเขียนอักษรเบลล์สำหรับคนตาบอดนี้ได้คิดค้นและประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบลล์ (Louis Braille)



  


การประเมินผล
                เด็กที่มีความบดพร่องทางการเห็น ควรได้รับการประเมินผลการเรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป แต่เขาอาจต้องการแบบจัดหรือข้อสอบที่แตกต่างจากเด็กปกติอยู่บ้าง เช่นอักษรตัวพิมพ์ขยายหากบอดสนิท หรือบกพร่องรุนแรงก็อาจใช้อักษรเบลล์ หรือฟังแถบบันทึกเสียง ผู้ที่ทำการประเมินต้องคำนึงถึงศักยภาพเป็นรายบุคคล ตลอดถึงต้องยืดหยุ่นเรื่องเวลาในการทำข้อสอบให้มากกว่าเด็กปกติ 20%
 2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
                เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินไม่สามารถรับฟังเสียงได้เหมือนเด็กปกติ ซึ่งอาจเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนวกก็ได้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมี 2 ประเภท คือ
1.เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง สามารถได้ยินได้ไม่ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟัง หรือไม่ก็ตามเด็กหูตึงจะมีระดับการได้ยินในหูที่ดีกว่าอยู่ระหว่าง 26-89เดซิเบล ซึ่งคนปกติจะมีระดับการได้ยินอยู่ระหว่าง0-25 เดซิเบล
2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่ดีตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไปไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้จากการสั่นสะเทือน
 การให้ความช่วยเหลือ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาทางการได้ยิน จึงไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการฟัง-การพูดได้อย่างเต็มที่ ต้องใช้การสื่อสารวิธีอื่นแทนการใช้ภาษาพูด วิธีการสื่อความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินอาจแบ่งเป็น 6 วิธี คือ
1. การพูด เหมาะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่มากนัก
2. ภาษา เหมาะสำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินมากหรือหูหนวกซึ่งไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ด้วยการพูดจึงใช้ภาษามือแทน
3. การใช้ท่าทาง หมายถึง การใช้ท่าทางที่คิดขึ้นเองมักเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่ใช้ภาษามือและไม่ใช้น้ำเสียงแต่ใช้สายตาในการรับภาษา
4. การสะกดนิ้วมือ คือการที่บุคคลใช้นิ้วมือเป็นรูปต่างๆแทนตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุต์ ตลอดจนสัญลักษณ์อื่นของภาษาประจำชาติเพื่อสื่อภาษา
5. การอ่านริมฝีปาก  เป็นวิธีการที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินรับภาษาพูดจากผู้อื่น ดังนั้น การอ่านริมฝีปากจึงเป็นสิ่งแรกที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จะต้องเรียนรู้วิธีการอ่านตั้งแต่คำแรกที่เรียนภาษาและเป็นสิ่งแรกที่เด็กต้องใช้ตลอดชีวิต
6. การสื่อสารรวม คือการสื่อสารตั้งแต่สองวิธีขึ้นไป เพื่อให้ผู้ฟังเดาความหมายในการแสดงออกของผู้พูดได้ดียิ่งขึ้นนอกจากการพูด การใช้ภาษามือ การแสดงท่าทางประกอบแล้วก็อาจใช้วิธีอ่านริมฝีปาก การอ่าน การเขียนหรือวิธีอื่นก็ได้
การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับเด็กปกติ
                เมื่อมีเด็กมีความบกพร่องทางการได้ยินเข้ามาเรียนร่วมในชั้นเรียน ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
           1.ควรให้เด็กที่มีความบกพร่องนั่งในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นและได้ยินผู้สอนได้ชัดเจน
           2.ใช้ท่าทางประกอบคำพูดเพื่อให้เด็กเข้าใจคำพูดของครุแต่ไม่ควรแสดงท่าทางมาจนเกินไป
           3.ครูควรเขียนกระดานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความสำคัญ เช่น นิยาม คำสั่ง หรือการบ้าน เป็นต้น
           4.อย่าพูดขณะเขียนกระดานเพราะเด็กไม่สามารถอ่านปากของครูได้
           5.เมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กควรใช้วิธีเรียกชื่อ ไม่ควรใช้วิธีแตะสัมผัส เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักฟัง
           6.จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
           7.ก่อนลงมือสอนควรตรวจเช็คเครื่องช่วยฟังว่าทำงานหรือไม่
           8.ให้โอกาสแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินออกมารายงานหน้าชั้น ทั้งนี้เพื่อให้
เด็กได้มีโอกาสแสดงออกด้วยการพูด และขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กปกติได้ฝึกฟังการพูดภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          9.หากเด็กปกติออกมาพูดหน้าชั้น ครูผู้สอนควรสรุปสิ่งที่เด็กปกติพูดให้เด็กที่มีความ
บกพร่องทางการได้ยินฟังด้วย

การประเมินผล
                การประเมินผลสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ของนักเรียนแต่ละคนอย่างน้อยภาคเรียนละหนึ่งครั้ง วิธีจัดและประเมินผลก็ทำเช่นเดียวกันกับการจัดผลประเมินผลปกติ คือใช้แบบทดสอบ การสังเกตการสนทนา ให้ลงมือปฏิบัติตามคำสั่ง ทดสอบปากเปล่า ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลจะกำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล

3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
            เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ภาษาและสติปัญญาล่าช้ากว่าเด็กปกติ เมื่อวัดสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้วปรากฎว่ามีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติโดยทั่วไป
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาแบ่งตามระดับความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับคือ
          1.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับน้อย (เชาว์ปัญญา 50-70) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนหนังสือได้
          2.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง (เชาว์ปัญญา 35-49) เป็นเด็กที่พอฝึกอบรมได้
          3.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง (เชาว์ปัญญา20-34) เป็นเด็กที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และได้รับการดูแลที่เหมาะสม
          4.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก(เชาว์ปัญญาต่ำกว่า 20) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่มีความจำกัดเฉพาะด้านต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

การให้ความช่วยเหลือ
                เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาการพัฒนาทางด้านต่างๆจะน้อยกว่าเด็กปกติ ครูผู้สอนต้องให้ความสำคัญและคำนึงถถึงความรุนแรงของความบกพร่องของเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้แก่
         1.การเตรียมความพร้อมให้กิจกรรมหลากหลายแตกต่างกันเริ่มจากง่ายๆไปหายาก
         2.การจัดนันทนาการเป็นการทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานผ่อนคลายทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการให้เด็กสามารถรู้กฎกติกาและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
         3.การปรับพฤติกรรม เช่น การให้แรงเสริม การเป็นแบบอย่างที่ดี การให้รางวัลเป็นต้น เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กที่ไม่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้
         4.การจักศิลปะบำบัด เป็นวิธีการบำบัดสิ่งที่เป็นจริงที่เกี่ยวกับความคิด เด็กได้มีโอกาสสร้างสรรค์หรือกระทำในสิ่งที่เขาคิดให้เป็นจริงหรือเป็นสิ่งที่มองเห็นและสัมผัสได้ ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กน้อยด้วย

การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากับเด็กปกติ
                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องกับความสามารถของเด็กๆแต่ละคนซึ่งเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนและฝึกอบรมได้นั้นควรจัดดังนี้
         1.ระดับก่อนประถมศึกษา ครูควรแนะนำพ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวให้ความรักเอาใจใส่ และเลี้ยงดูอย่างอบอุ่น เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป ถ้ามีชั้นก่อนประถมศึกษาใกล้บ้านควรให้เด็กได้เข้าชั้นก่อนประถมศึกษาก่อน ที่จะไปโรงเรียนปกติ
        2.ระดับประถมศึกษา แนะนำผู้ปกครองให้สอนเด็กที่บ้าน สอนเกี่ยวกับตัวเอง เช่น ชื่อ สกุล อายุ พ่อแม่ ที่อยู่ การช่วยเหลือตัวเอง สอนมารยาทที่จำเป็นในสังคมในชุมชน การไหว้ การกล่าวคำขอโทษ ขอบคุณ เป็นต้น
        3.ระดับมัธยมศึกษา เดมื่อได้รับการศึกษาและฝึกาชีพอย่างเพียงพอสามารถประกอบอาชีพ และอยู่ในสังคมได้ บุคคลกลุ่มนี้ ต้องการดูแลและเอาใจใส่รวมทั้งต้องการคำแนะนำ ปรึกษา จากผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ

การประเมินผล
เด็กที่มีคงามบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ซึ่งมีเชาว์ปัญญา 50-70 การประเมินผล
ควรเป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลของนักเรียนแต่ละคนควรมีการประเมินผลจุดมุ่งหมายระยะยาว เพื่อปรับปรุงแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลของนักเรียนแต่ละคนให้เหมาะสม ในการประเมินผลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ควรมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้มนแผนการต่างๆมากน้อยเพียงใดและควรปรับปรุงวัตถุประสงค์ใดบ้าง
                สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับฝึกอบรมได้ ซึ่งมีเชาว์ปัญญา 35-49 การประเมินผลจะต้องสอดคล้องกับแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยกำหนดจุดมุ่งหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การประเมินจะต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายเหล่านั้น จุดมุ่งหมายระยะสั้นควรมีการประเมินทุกระยะ เช่น ทุกเดือน หรือทุกสามเดือน จุดมุ่งหมานระยะยาว ประเมินอย่างน้อยปีละครั้งและในการประเมินแต่ละครั้งต้องมีข้อมูลครบถ้วน


4. เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหว
                เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหว หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติของแขน ขา หรือลำตัวรวมถึงศรีษะเป็นเด็กที่มีความผิดปกติบกพร่องหรือสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีเท่าคนปกติแต่ไม่ได้หมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแม้ว่าดวงตาและระบบการได้ยินเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายก็ตาม เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือเคลื่อนไหวสามารถสังเกตได้ดังนี้
          1.ร่างกายเติบโตไม่ปกติ เช่น แขนหรือขาไม่เท่ากันทั้งสองข้าง ลำตัวเล็กผิดปกติอวัยวะ
ผิดรูป เช่น เท้าติด เอวคด หลัง-ลำตัวโค้งงอผิดปกติ แขนขาด้วน
          2.กล้ามเนื้อผิดปกติ เช่น แขน-ขา ลำตัวลีบ ไม่มีแรงอย่างคนปกติ
          3.ไม่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ เช่น ไม่สามารถเคลื่อนลำตัว แขน-ขา มือหรือเท้า
ได้อย่างคนทั่วไป
          4.ไม่สามารถนั่ง ยืนได้ด้วยตนเอง
          5.ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น ไม่สามารถรับประทานอาหาร อาบน้ำ ถอด-ใส่
เสื้อผ้ได้ด้วยตนเอง

การให้ความช่วยเหลือ
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวอาจมีความบกพร่องหลายอย่างใน
บุคคลเดียว การฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการจึงจำเป็นต้องมีหลายด้านตามสภาพความบกพร่องของเด็กแต่ละบุคคลซึ่งการบำบัดฟื้นฟูต่างๆได้แก่
กายภาพบำบัด
เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายตั้งแต่แรกเริ่มในด้านต่างๆ เช่น การทรงตัว การนั่ง
หรือการยืนทรงตัวเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆในลักษณะที่ถูกต้อง เป็นพื้นฐานในการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องต่อไป
กิจกรรมบำบัด
เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายเพื่อเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีและเร็วที่สุด สามารถอยู่อย่างปกติสุขเช่นคนทั่วไปโดยเน้นทักษะกล้ามเนื้อย่อย เช่น การรับประทานหาร การทำความสะอาดร่างกาย การแต่งตัวเป็นต้น
อรรถบำบัดหรือการแก้ไขคำพูด
ในส่วนที่เด็กมีความบกพร่องทางการพูดจะต้องฝึกการควบคุมน้ำลาย การกลืน การเคี้ยว
อาหาร ฝึกโดยใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องเล่นที่เกี่ยวกับการออกเสียง เครื่องดนตรีชนิดเป่า การเป่ากระดาษหรืออุปกรณ์ชนิดอื่นๆให้เด็กได้รู้ว่าคนเราพูดเมื่อเวลาหายใจออกเท่านั้น
             ศิลปะบำบัดและดนตรีบำบัด
             เป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาเด็กที่มีความแตกต่างกันในด้านต่างๆให้มีการพัฒนาอย่างเหมาะสมตามศักยภาพโดยคำนึงถึงความสนุกสนาน ความต้องการธรรมชาติรวมถึงความจำเป็นของเด็กเป็นรายบุคคล

การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายกับเด็กปกติ
                การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหวได้แบ่งระดับของกิจกรรมการเรียนไว้ 3 ระดับคือ
            1.ระดับก่อนวัยเรียน จุดมุ่งหมายสำคัญของการให้การศึกษาแก่เด็กที่มีความบกพร่อง
ทางด้านร่างกายคือ การเตรียมความพร้อมของเด็กเพื่อการเรียนร่วม เด็กที่ได้รับการเตรียมความพร้อมแล้วเท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จในการเรียนร่วมกับเด็กปกติ ความพร้อมที่ควรจะได้รับการเตรียมในระดับนี้ได้แก่ ความพร้อมในการเคลื่อนไหว การช่วยเหลือตนเอง ทักษะทางสังคมและพัฒนาการทางภาษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เด็กที่มีคงวามบกพร่องทางด้านร่างกายควรได้รับบริการทางด้านการบำบัดควบคู่กันไป การบำบัดที่จำเป็นได้แก่กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัดและการบำบัดทางภาษา
           2.ระดับประถมศึกษา เด็กอาจเริ่มเรียนรวมกับเด็กปกติในลักษณะของการเรียนร่วมเต็ม
เวลาได้โดยไม่ต้องการการบริการพิเศษเพิ่มเต็ม เช่น เด็กที่ใช้แขนหรือขาเทียม ซึ่งสามารถใช้หรือขาเทียมได้ดี ระดับสติปัญญาปกติและไม่มีความพิการด้านอื่นเด็กประเภทนี้สามารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้ เด็กที่มีความสามารถบกพร่องทางร่างกายอื่นก็สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ หากเด็กได้รับการเตรียมความพร้อมแล้วและทางโรงเรียนจัดบริการเพิ่มเติมให้กับเด็กการพิจารณาจัดเด็กเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติพิจารณาเด็กเป็นรายบุคคล
           3.ระดับมัธยมศึกษา การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเน้นด้านวิชาการและพื้นฐานด้านการ
งานและอาชีพหากเด็กมีความพร้อมควรให้เด็กมีโอกาสเรียนร่วมเต็มเวลาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เด็กที่จะเรียนร่วมได้ดีควรเป็นเด็กที่สามารถช่วยตัวเองได้ในด้านการเคลื่อนไหวและการประกอบกิจวัตรประจำวันมีคงวามสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นและมีพื้นฐานอาชีพใกล้เคียงกับเด็กปกติ อย่างไรก็ตามเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายอาจยังต้องการบริการพิเศษ เช่น การบำบัดทางกายภาพ กิจกรรมบำบัด การแก้ไขคำพูดเบื้องต้น การพิจารณาส่งเด็กเข้าเรียนร่วมจะต้องพิจารณาความสามารถและความพร้อมของเด็กเป็นรายๆไป ทั้งนี้เพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถและระดับความพร้อมแตกต่างกัน

การประเมินผล
                การประเมินผล ควรดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนและตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพราะบุคคล มีการประเมินผลระยะสั้นทุกภาคเรียน และมีการประเมินผลระยะยาวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การประเมินผลต้องมีผลสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ในแผนการศึกษา มีกานเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเด็กให้มากที่สุด เพื่อให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพ และข้อมุลยังจำเป็นสำหรับการวางแผนระยะยาวอีกด้วย

5. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
                เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ คือเด็กที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตวิทยา บกพร่องนี้เกียวกับทั้งภาษาพูดและทั้งภาษาเขียน เด็กมีปัยหาทางด้านการฟัง การคิด การพูด  การอ่าน การสะกดคำ หรือการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ รวมไปถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการรับรู้ แต่ไม่รวมถึงเด็กที่มีปัญหาบกพร่องทางด้านสายตา ทางการได้ยิน และทางการเคลื่อนไหว ปัญยาอ่อนหรือเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ความบกพร่องทางด้านอารมณ์และความเสียเปรียบทางสภาพแวดล้อม

การให้ความช่วยเหลือ
                การให้ความช่วยเหลือ   ครูผู้สอนจะต้องสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เด็ก แนะนำทางในการเสริมความเชื่อมั่นให้แก่เด็ก อาจทำได้ดังนี้
                1.ให้การเสริมแรงทางบวกแก่เด็ก เมื่อประสบผลสำเร็จ
                2.ค้นให้พบความสามรถของเด็กและส่งเสริมความสามารถนั้น
                3.ให้เด็กฝึกความรับผิดชอบทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน เช่นเปิดโอกาสให้เด็ก ที่มีปัญหาทางการเรียน สอนเด็กที่อ่อนกว่า
                4.อย่าเปรียบเทียบเด็กที่ปัญหาทางการเรียนรู้กับเด็กอื่น หรือเปรียบเทียบระหว่างพี่น้อง
                5.บันทึกความสำเร็จของเด็ก เพื่อใหเห็นความก้าวหน้า และแนวดน้มของเด็ก
                6.ให้โอกาสแก่เด็กได้แสดงความสามารถ
                7.เมื่อเด็กทำผิดหรือประสบความล้มเหลว อย่าซ้ำเติม ควรทำความล้มเหลวมาปรับปรุงตนเอง เพื่อให้เด็กมีโอกาสประสบผลสำเร็จต่อไป
                8.ส่งเสริมใหเด็กได้ทำงานอดิเรกที่ชอบ

การเปรียบเทียบระหว่างเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้กับเด็กปกติ
                การเรียนร่วมครูผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้หลายประเภร ซึงเกิดจากปัญหาทางด้านจิตวิทยา หรือเกิดจากความผิดปกติของมันสมองบางส่วน ดังนั้นการสอนเด็กเหล่านี้จึงต้องใช้วิธีการหลายวิธี ดังนี้
                1.ม่สอนโดยการบรรยายเพียงอย่างเดียว
                2.ใช้คำสั่งที่สั้น ชัดเจน เข้าใจง่าย
                3.ใช้คำสั่งที่ซ้ำๆ กัน แต่ควรเปลี่ยนคำหรือสำนวนทุกครั้ง
                4.ไม่ควรเน้นการเขียน เมื่อครูให้การบ้าน
                5.ให้การเสริมแรงมื่อทำถูกต้อง

6.เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม

                เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หมายถึงเด็กที่แสดงพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากทั่วไป และพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กเองและของผู้อื่นด้วย พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนเป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อม หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเอง ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ ขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดทางอารมณ์โดย แสดงออกทางร่างกาย ซึ่งบางคนมีความบกพร่องซ้ำซ้อนอย่างเด่นชัด และเกิดเป็นเวลานาน

การให้ความช่วยเหลือ
                เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม มีลักษณะของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาคือพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อกวน การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ส่วนความวิตกกังวล การมีปมด้อย การหนีสังคม และความผิดปกติทางการเรียน เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการขัดแย้งในตัวเด็กเอง  การให้ความช่วยเหลือ จึงทำได้หลายรูปแบบ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุง อารยะวิญญู ( 2541 . 105-107 ) ได้เสนอแนะการช่วยเหลือไว้ 3รูปแบบดังนี้
                1.รูปแบบทางจิตวิทยาการศึกษา  นักจิตวิทยาเชื่อว่าองค์ประกอบทางชีววิทยา และการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการทางบุคลิกภาพของเด็กตลอดจนปัญหาทาง
อารมณ์ล้วนมีมูลเหตุมาจากพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องทั้งสิ้น ทางหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้ลงได้คือ ให้เด็กเข้าใจปัญหาของตนเอง และยินดีที่จะหาทางขจัดปัญหานั้นๆ การช่วยเหลือเด็กนั้นครูจะต้องทำให้เด็กเกิดความเชื่อถือ เกิดศรัทธา ทำให้เด็กมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหาของตน ดังนั้นการเรียนการสอนจึงควรกระทำเป็นรายบุคคล ควรใช้เกมสถานการณ์จำลอง และกิจกรรมอื่นที่แตกต่างไปจากที่ใช้กับเด็กปกติ จึงจะสามารถช่วยเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
                2.รูปแบบทางจิตวิทยา  นักจิตวิทยาได้ค้นพบพบหลักการเรียนรู้และการปรับพฤติกรรมของเด็กหลักการปรับพฤติกรรมนี้สามารถนำมาใช้ในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ ตัวอย่างเช่น เด็กอาจจะเรียนรู้โดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็กปกติ โดยยึดพฤติกรรมของเด็กปกติที่ดีเป็นแบบอย่าง ดังนั้นการปรับพฤติของเด็กจึงควรเน้นและให้ความสนใจพฤติกรรมที่พึงประสงค์เท่านั้น พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ไม่ควรได้รับความสนใจ  ในการช่วยเหลือเด็กนั้นครูหรือนักจิตวิทยาอาจให้แรงเสริมเพื่อให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น หรืออาจใช้เทคนิคอื่นๆ ในการลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลง
                3.รูปแบบทางนิเวศวิทยา นักนิเวศวิทยาเชื่อว่าเด็กเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เด็กเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน และโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พฤติกรรมของเด็กควรได้รับการยอมรับจากสังคม  ในการช่วยเหลือเด็ก ครูควรทำความเข้าใจกับทุกอย่างที่ประกอบขึ้นเป็นระบบในสังคม ทั้งนี้เพื่อหาทางขจัดสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เด็กมีปัญหาทางพฤติกรรม เด็กอาจได้รับการปรับพฤติกรรม แต่นักนิเวศวิทยาเชื่อว่า นั่นยังไม่เพียงพอควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของเด็กเท่าที่จำเป็นด้วย และรวมไปถึงการปรับปรุงทัศนคติของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนสมาชิกในชุมชน เพื่อให้มีความเข้าใจและยอมรับเด็กมากขึ้น การปรับพฤติกรรมมีหลายวิธีดังนี้
                                3.1 เสริมแรงทางบวก อาจเสริมแรงด้วยวาจา เช่น ขมเชยเด็กเมื่อเด็กทำเรื่องที่ดีและถูกต้องเป็นต้น ใช้อุปกรณ์เสริมแรง เช่นขนม ของเล่น ของใช้เป็นต้น ควรใช้อย่างสม่ำเสมอในระยะแรก เมื่อพฤติกรรมคงที่แล้วควรลดการเสริมแรงโดยเสริแรงเป็นครั้งคราว
                                3.2 เสริมแรงทางลบ เช่นเด็กไม่ส่งการบ้าน ครูดุ ถ้าเด็กส่งการบ้าน ครูเลิกดุ เด็กก็มีแนวโน้มที่จะส่งการบ้านอีก
                                3.3 การแก้ไขให้ถูกต้องเกินกว่าที่ทำผิด เป็นการแก้ไขผลการกระทำของเด็ก และแก้ไขในปริมาณมากกว่าเดิม เช่นเด็กเล่นขว้างปาสิ่งของในห้องสกปรก ครูใช้เทคนิคปรับพฤติกรรม โดยอาจจะให้เก็บขยะให้เรียบร้อย และจัดโต๊ะในห้องเรียนให้เรียบร้อยเป็นการลงโทษให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น
                                3.4 การเป็นแบบอย่างที่ดี ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก  เด็กอาจยึดครูเป็นแบบอย่างในหลายด้าน เช่น การพูดจาไพเราะ ขยัน  ทำงานเป็นระเบียบ


การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมกับเด็กปกติ
                การจัดเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกตินั้น ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้
                1.ทัศนคติของเด็กต่อการเรียนร่วม
                2.ทัศนคติของครู ผู้ปกครองต่อการเรียนร่วม
                3.พฤติกรรมของเด็ก ตลอดจนความรุนแรงของพฤติกรรม
                4.ความสามารถของเด็กในการควบคุมตนเอง ตลอดจนทักษะทางสังคมของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคบเพื่อน การเข้ากับคนอื่น
                5.ความพร้อมของครู ที่จะรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมเข้าเรียนร่วมชั้นปกติ
                6.ความร่วมมือจากผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็ก
                7.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
                เด็กที่เรียนร่วมได้อย่างประสบผลสำเร็จนั้น ควรเป็นเด็กที่ได้รับการปรับพฤติกรรมแล้ว เด็กมีพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติ หากเด็กยังมีปัญหาทางพฤติกรรมอยู่บ้าง ต้องได้รับบริการจากสถานศึกษาในด้านบริการแนะแนวและให้คำปรึกษาหรือรับบริการจากครูเสริมวิชาการ